ครั้งสุดท้ายของปี ชมพระอาทิตย์ขึ้นตรงประตูทั้ง15 รับแสงแรกผ่านประตูเพื่อเป็นสิริมงคล

พระอาทิตย์​ขึ้นตรงประตูทั้ง 15 บาน 1 ปี จะมี 4 ครั้ง โดยจะเป็นพระอาทิตย์ขึ้นตรงประตูทั้ง15 จำนวน 2 ช่วงเวลา และพระอาทิตย์ตกตรง 2 ช่วงเวลา ปรากฏการณ์​พระอาทิตย์​ขึ้น ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงนี้คือ ช่วงวันที่ 8-10 กันยายน​นี้ (ข้อมูล)  พิเศษ!! จังหวัดจัดงบมาจัดประเพณีขึ้นเขาช่วงนี้ แทนช่วงเดือนเมษายนที่ไม่ได้จัด จึงถือว่านี้พิเศษของบุรีรัมย์ในการจัดงานขึ้นเขาเดือนกันยายน

"จังหวัดบุรีรัมย์ เตรียมจัดกิจกรรมประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประจำปี 2565 ขบวนแห่เทพพาหนะ จำลองขบวนเสด็จของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และขบวนแห่สักการะ “น้อมจิตบังคม พนมรุ้งนาฏการ” ที่สวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2565

กำหนดการแบบละเอียด ปี 2565




วันที่ 9-11 กันยายน 2565
ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

📍☀️ พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง รอบที่สามของปีใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับในเดือนกันยายนนี้ เป็น "ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้น" อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาร่วมรับแสงแรกของวันที่ปราสาทพนมรุ้ง เทวสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดูลัทธิไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย 🌅 👉เช็ควันที่กันให้ดี✅ ในระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2565❗️ ประตูเปิดให้เข้าเวลา 05.30 น. เป็นต้นไป (🔴พระอาทิตย์จะขึ้นประมาณ 05.57 น.🔴) แล้วพบกันที่ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งปี 2565 (พิเศษ)

วันที่ 10 กันยายน 2565 เวลา 07.19 น. บวงสรวงพระศิวะมหาเทพ
วันที่ 10-11 กันยายน 2565 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ชมขบวนอัญเชิญพาหนะเทพผู้พิทักษ์ประจำทิศทั้ง 10 และขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี รับบทโดย คุณกวาง กมลชนก เขมะโยธิน
วันที่ 10 กันยายน 2565 เวลา น. เป็นต้นไป ชมขบวนแห่สักการะ "น้อมจิตบังคม พนมรุ้งนาฏการ" พร้อมนางรำจากทุกอำเภอ
อุดหนุนสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น ณ ตลาดวัฒนธรรมวนัมรุง ตลอดทั้งวัน




จากการประชุม (16 ส.ค.65) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมพนมรุ้ง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ นายดำรงชัย เนรมิตตกพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมคณะกรรมการจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2565 พร้อมทั้ง ข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมจัดงาน ประจำปี 2565 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการจัดงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

           อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กำหนดจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีไทย ตามนโยบายรัฐบาลในด้านการท่องเที่ยว ถ่ายทอดเรื่องราวอันยิ่งใหญ่และน่าภาคภูมิใจของสถาปัตยกรรมอันถือเป็นมรดกของจังหวัดบุรีรัมย์ และมรดกของชาติ  ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์สืบทอดประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งที่สืบทอดกันมากว่า 70 ปี กระตุ้นรายได้ด้านการท่องเที่ยวและกระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ 

            สำหรับปี 2565 กำหนดจะจัดงานในระหว่างวันที่ 9 – 11  กันยายน 2565  ณ อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ โดยกิจกรรมประกอบด้วย  พิธีบวงสรวงมหาเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิต ณ เขาพนมรุ้ง ขบวนอัญเชิญพระศิวะมหาเทพ ขบวนสัตว์พาหนะเทพผู้พิทักษ์ประจำทิศทั้ง 10 ทิศ ขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี โดยในปีนี้รับบทโดย “ กวาง กมลชนก เขมะโยธิน ” ขบวนแห่สักการะ “น้อมจิตบังคม  พนมรุ้งนาฏการ” จากนางรำทั้ง 23 อำเภอ กว่า 500 คน ที่บรรจงแต่งกายด้วยชุดที่สวยงาม ร่วมขบวน การแสดงผลิตภัณฑ์โอทอป  ตลาดอารยธรรมวนัมรุง  ตลาดสินค้าโบราณของพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนั้นแล้วในช่วงวันที่ 8 – 10 กันยายน 2565 ยังจะเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ดวงอาทิตย์ขึ้น สาดแสงส่องตรง 15 ช่องประตูซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์หนึ่งเดียวในโลกด้วย

            รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมพรุ้งทุกปี ซึ่งเดิมกำหนดเป็นช่วงเดือน เมษายน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ในปีนี้ จึงได้เลื่อนมาจัดในวันที่ 9 – 11 กันยายน 2565 ซึ่งนอกจากจะได้ชมขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ตระการตาแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังจะมีปรากฏการมหัศจรรย์ คือพระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู 

           จึงขอเชิญชวนประชาชน นักท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชมประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง พร้อมรับพลังจากพระสุริยะเทพ ร่วมบูชา ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เทพผู้มั่งคั่ง โลกบาลประจำทิศเหนือ ซึ่งเชื่อว่า จะนำมาซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวย และเป็นสิริมงคลในทุก ๆ ด้าน ทั้งแก่ตนเองและครอบครัวด้วย"//
ข่าวจาก สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์

หากสภาวะปรกติช่วงเดือนกันยายน ทางอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพื่อรอชมปรากฎการณ์ พระอาทิตย์ขึ้นตรงช่องประตูทั้ง 15 

**ภาพจากคลังภาพเพจบุรีรัมย์เมืองน่าอยู่น่าเที่ยว

อนึ่งปรากฏการณ์ที่ในรอบ 1 ปี จะมีช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องบานประตูของปราสาทหินพนมรุ้ง รวม 4 ครั้ง อย่างน่าพิศวง ช่วงที่แสงส่งผ่านช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ชมพระอาทิตย์ขึ้นมาชมตอนเช้า มารับแสงแรกจากสุริยะผ่านช่องประตูทอดแสงกระทบศิวลึงค์ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู จึงนับว่าเป็นสิริมงคลและบารมีแก่ผู้ที่ได้เข้ามาสัมผัสแสงอาทิตย์แรกแห่งวันผ่านช่องประตูทั้ง 15 บานแห่งพนมรุ้ง จึงนับว่าเป็นสิริมงคลและบารมีแก่ผู้ที่ได้เข้ามาสัมผัสแสงอาทิตย์แรกแห่งวันผ่านช่องประตูทั้ง 15 บานแห่งพนมรุ้ง


ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์-ขึ้น ส่องแสงผ่านประตูทั้ง 15 ในปีๆหนึ่งจะมี 2 ครั้ง คือช่วง 3-5 เมษายน ซึ่งเป็นครั้งแรกของปี และ ส่วนอีกครั้งช่วงที่จะถึงนี้ 8-10 กันยายน 

**ภาพจากคลังภาพเพจบุรีรัมย์เมืองน่าอยู่น่าเที่ยว

สำหรับความมหัศจรรย์นี้ยังมีส่องแสงลอดตรงประตูทั้ง 15 บานอีก 2 ครั้ง แต่จะเป็นช่วงพระอาทิตย์-ตก จะอยู่ในช่วงประมาณ วันที่ 5-7 มีนาคม และ 5-7 ตุลาคม ของทุกปี เช่นกัน 

"มหัศจรรย์พนมรุ้ง" จะได้ชมแน่นอนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่หากต้องให้ฟ้าฝนเป็นใจประกอบด้วย ช่วงที่รอชมก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ในช่วงวันนั้น(แต่ควรไปก่อนเวลาไปจับจองที่ชม) ทางเจ้าหน้าที่อุทยานคอยอำนวยความสะดวกหากมีปรากฎการณ์ดังกล่าวเปิดให้เข้าเป็นกรณีพิเศษ  

จุดชมปรากฎการณ์ เข้าทางประตู3 หากขึ้นทางอำเภอเฉลิมพระเกียรติจะถึงประตู 3 ก่อน แต่หากขึ้นทางประโคนชัยจะเป็นประตูที่1 รถสามารถนำไปจอดด้านในได้ จุดจอดรถคือหลังปราสาทหลัก เมื่อเดินขึ้นมาที่ตัวปราสาทก็จะเป็นจุดรอชมปรากฎการณ์นี้เลย ทางเจ้าหน้าที่จะมีรั้วกั้นเพื่อจะได้แบ่งปันในการชม ควรไปถึงก่อนเวลาล่วงหน้าเพื่อจับจองมุมชมเหมาะสม ช่วงนี้ขอให้ร่วมกันเข้มในมาตรการป้องกันโควิด-19 อาจจำกัดผู้เข้าชม เพื่อความสะดวกติดต่ออุทยานฯ ก่อนเดินทาง 

**สามารถนำรถเข้าไปจอดด้านในอุทยานประตู3 ได้เดินนิดเดียวก็ถึงจุดเข้าชม

พิกัด จากถนนสาย24 ช่วง อ.นางรอง-อ.ประโคนชัย ถึงแยกถนนหัก อ.นางรองตรงไปตามถนน24 ประมาณ12 กิโลเมตร ถีงแยกตะโก เลี้ยวขวา ขับตามทางไปจากแยกตะโกไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเป็กเลี้ยวซ้าย ไปทาง อ.เฉลิมพระเกียรติอีก 6 กิโลเมตรก็ถีงยอดเขาพนมรุ้ง 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร.0-4466-6251

**ตรวจสอบก่อนเดินทาง ในช่วงเวลาที่เข้าชม

ภาพจากสถานที่ช่วงเดือนกันยายน ฟ้าเปิดเป็นใจได้ชม พร้อมรอยยิ้มของผู้ได้ชม ในปีที่ผ่านๆ มา 


ขอบคุณภาพจาก เพจ บุรีรัมย์เมืองน่าอยู่น่าเที่ยว