ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองไหว้เสริมสิริมงคลให้ชีวิต


ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ตามประเพณีไทยตั้งแต่สมัยโบราณเมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ก็จะมีการสร้างเสาหลักเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่บ้านเมือง และต้องตั้งในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านแก่เมือง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ก็เช่นกัน

บริเวณศาลหลักเมืองแห่งนี้เคยเป็นจุดเจ้าพระยาจักรี คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ใช้เป็นจุดพักรบ และเห็นว่าบริเวณนี้เป็นทำเลที่เหมาะสม มีสระน้ำ มีต้นแปะขนาดใหญ่ เลยโปรดเกล้าให้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่าเมืองแปะ ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์



จุดสำคัญของศาลหลักเมืองคือ เสาหลักเมืองบุรีรัมย์ที่ปรากฏ มีอยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ และสร้างใกล้ชิดติดด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ มีเสาหลักเมือง 2 ต้น เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีข้อมูลบันทึก ที่กรุงเทพฯก็เช่นกัน


สำหรับศาลหลักเมืองหลังปัจจุบันนี้ เดิมมีขนาดเล็ก จึงได้มีการรื้อและก่อสร้างขึ้นใหม่ เมื่อ ช่วงปี 2548 -2550 ให้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมรูปทรงปราสาทหิน ที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง คงความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองปราสาทหิน ตามคำขวัญหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์

พิกัด
ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกับที่ตั้งของวัดกลางพระอารามหลวง และ“สระสิงโต” มีความเชื่อกันว่าเป็น สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งเจ้าพระยาจักรี (ซึ่งต่อมาได้เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ยกทัพมาตีเมืองจำปาศักดิ์ ทรงได้พักทัพที่บริเวณสระน้ำแห่งนี้  ที่ตั้งที่เหมาะสมเป็นจุดทางแยกตัดกันของถนนหลักเมืองกับถนนจิระ ตั้งในพื้นที่สูง เราจะสามารถมองเห็นศาลหลักเมืองจากจุดที่เดินทางเข้ามาตัวเมือง



ขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย