สถานที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ช่วงประมาณวันที่ 5-7 ตุลาคม แสงอาทิตย์ลับขอบประตูทั้ง 15 ช่อง ของปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเหมือนเป็นความมหัศจรรย์ แต่ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ตั้งใจสร้างถือเป็นความอัจฉริยะในการสร้างปราสาทหิน ทำให้ทุกๆปีช่วงเวลาดังกล่าวแสงถึงส่องตรงทุกๆครั้งไป ปรากฎการณ์มหัศจรรย์ที่อยู่คู่ปราสาทพนมรุ้ง และคู่จังหวัดบุรีรัมย์มาช้านาน แม้ว่าจะมีการจำลองไปที่อื่น แต่สิ่งนี้ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะที่นี่คือที่เดียวปรากฎการณ์ปราสาทพนมรุ้งเหนือยอดเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
อนึ่งปรากฏการณ์ที่ในรอบ 1 ปี จะมีช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องบานประตูของปราสาทหินพนมรุ้งอย่างน่าพิศวง ด้วยความเชื่อนับพันปีที่ปราสาทหินแห่งนี้ เป็นศาสนสถานที่สร้างถวายแด่องค์พระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย บนเขาภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ศาสนสถานแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องหมายของศูนย์กลางแห่งจักรวาล บริเวณปราสาทคือเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือว่าเป็นสวรรค์ มองลงไปแผ่นดินเบื้องล่างคือโลกมนุษย์ และบริเวณทะเลเมืองต่ำกับหนองบัวราย เปรียบเสมือนมหาสมุทรซึ่งเป็นโลกบาดาล นอกจากนั้นถ้ามองไปสุดขอบฟ้าจะเห็นเทือกเขาพนมดงรักเปรียบเสมือนกำแพงแก้ว ซึ่งอยู่สุดขอบของจักรวาลตามความเชื่อของศาสนาฮินดู และช่วงที่แสงส่งผ่านช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ชมพระอาทิตย์ มารับแสงจากสุริยะผ่านช่องประตูทอดแสงกระทบศิวลึงค์ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู จึงนับว่าเป็นสิริมงคลและบารมีแก่ผู้ที่ได้เข้ามาสัมผัสแสงอาทิตย์ผ่านช่องประตูทั้ง 15 บานแห่งพนมรุ้ง จึงนับว่าเป็นสิริมงคลและบารมีแก่ผู้ที่ได้เข้ามาสัมผัสแสงอาทิตย์แรกแห่งวันผ่านช่องประตูทั้ง 15 บานแห่งพนมรุ้ง
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 ในปีๆหนึ่งจะมี 4 ครั้ง ชมพระอาทิตย์ขึ้น 2 ครั้ง และพระอาทิตย์ตก 2 ครั้ง ส่วนในประเพณีโบราณนั้นชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน และช่วงเดือนต้นเดือนเมษายนทุกปี ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และทางจังหวัดร่วมจัดงานใหญ่ร่วมกันจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ถือเป็นงานระดับโลกไปแล้วนั่นคืองาน งานมหัศจรรย์พนมรุ้ง และงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
"มหัศจรรย์พนมรุ้ง" จะได้ชมแน่นอนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่หากต้องให้ฟ้าฝนเป็นใจประกอบด้วย ช่วงที่รอพระอาทิตย์ตก ในช่วงวันนั้น(แต่ควรไปก่อนเวลาไปจับจองที่ชม) ทางเจ้าหน้าที่อุทยานคอยอำนวยความสะดวกหากมีปรากฎการณ์ดังกล่าวเปิดให้เข้าเป็นกรณีพิเศษ
จุดชมปรากฎการณ์ เข้าทางประตู3 หากขึ้นทางอำเภอเฉลิมพระเกียรติจะถึงประตู 3 ก่อน แต่หากขึ้นทางประโคนชัยจะเป็นประตูที่1 รถสามารถนำไปจอดด้านในได้ จุดจอดรถคือหลังปราสาทหลัก เมื่อเดินขึ้นมาที่ตัวปราสาทไปรอชมด้านหน้าปราสาทจะเป็นจุดรอชมปรากฎการณ์นี้เลย ทางเจ้าหน้าที่จะคอยดูแลเพื่อจะได้แบ่งปันในการชม ควรไปถึงก่อนเวลาล่วงหน้าเพื่อจับจองมุมชมเหมาะสม
**หากนำรถเข้าไปจอดด้านในอุทยานประตู3 มีค่าจอด 50(พร้อมคนขับ) และค่าเข้าอุทยาน 20 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6503
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร.0-4466-6251
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6531
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6528
ททท.สำนักงานสุรินทร์ โทร.0-4454-4447-8
#มหัศจรรย์พนมรุ้ง