ครั้งแรกของบุรีรัมย์การประกวดปลากัดไทย18-19พค.วิทยาลัยเกษตรฯบุรีรัมย์ชมฟรี

รวมพลคนรักษ์ปลากัด ชิงแชมป์ปลากัดลูกทุ่งแห่งประเทศไทย ในจังหวัดบุรีรัมย์ ปลากัดถือเป็นมรดก​ทางวัฒนธรรม ปลากัด​ไทย มีเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​และประวัติศาสตร์​ชาติไทย รากเหง้าแห่งภูมิปัญญา​วัฒนธรรม​ปลากัดไทย จัดโดย ชมรมรักษ์ปลากัดพื้นบ้าน ร่วมกับกรมประมง จ. บุรีรัมย์



ถ้วยรางวัลที่งดงาม พร้อม
ตารางงาน
วันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2562 วันแข่งขัน และมอบรางวัล
งานประกวด ประชัน สัตว์น้ำประจำชาติไทย ณ บุรีรัมย์
ณ  อาคารศูนย์วิทยบริการ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ 
โดยชมรมคนรักษ์ปลากัดพื้นบ้าน ร่วมกับจังหวัดบุรีรัมย์
ประกาศกิจกรรมทั้งหมดในงานดังนี้
1. การประกวดปลากัดพื้นเมืองสวยงาม 9 ประเภท
1.1ปลากัดป่าภาคกลาง – ภาคเหนือ
(Betta Splendens : SP)
1.2 ปลากัดป่าภาคอีสาน
(Betta Smaragdina : SM)
1.3 ปลากัดป่ากีต้าร์หางลาย
(Betta SP.Bungkhonglongensis : KT)
1.4 ปลากัดป่ามหาชัย
(Betta Mahachaiensis : MH)
1.5 ปลากัดป่าภาคใต้
(Betta Imbellis : IB)
1.6 ปลากัดป่าภาคตะวันออก
(Betta Siamorientails : SO)
1.7 ปลากัดป่าลายไทย
(Betta Laythai : LT)
1.8 ปลากัดป่าพัฒนาสีสัน
(Hybrid Wild Betta Multicolor : HC)
1.9 ปลากัดป่าพัฒนารูปทรง
(Hybrid Wild Betta Develop Shape : HD)
2. การประกวดชิงถ้วยรางวัล Best in Show
3. การประชันปลากัดสัตว์น้ำประจำชาติ ชิงแชมป์ (การแสดงเกี้ยวพาราสีของปลากัดเพศผู้)
4. การประกวดระบายสีปลากัด(ระดับประถม)
5. การประกวดภาพถ่ายปลากัด(ระดับมืออาชีพ)
6. การประกวดถ่ายภาพปลากัด (สำหรับประชาชนทั่วไป)
7. การเสวนาความรู้เกี่ยวกับปลากัด โดยผู้เชี่ยวชาญ
7.1 ปลากัดไทยสัตว์น้ำประจำชาติ
7.2 การถ่ายทอดประสบการณ์ เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลากัด จากผู้ประกอบการปลากัด
7.3 การสร้างแบรนด์การค้าปลากัด
8. นิทรรศการการเพาะเลี้ยงปลากัด
8.1 การแสดงปลากัดสัตว์น้ำประจำชาติ
8.2 การเพาะเลี้ยงปลากัด
8.3 การเพาะเลี้ยงอาหารมีชีวิต สำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน
8.4 การพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด
8.5 การตลาดปลากัด การตลาดออนไลน์
8.6 การขนส่งปลากัดผ่านไปรษณีย์ไทย
9. การแสดงสายพันธุ์ปลากัดลูกทุ่ง ๖ สายพันธุ์ และสายพัฒนา
10. การแสดงสายพันธุ์ปลากัด ทุกประเภทในประเทศไทย
11. การออกร้านจำหน่ายพ่อ-แม่พันธุ์ปลากัด และสินค้าทางการประมง
12. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปลากัด
13. มอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียน เพื่อก่อตั้งชมรมปลากัดภายในโรงเรียน
ข้อกำหนดในการตัดสินการประกวด
1. กรรมการทั้งหมด 9 ท่าน แบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 3 ท่าน (จับฉลากเลือกชุด1-2-3ว่าใครจะได้อยู่ชุดไหน)
2. การตัดสินแบ่งเป็น 3 รอบ แต่ละรอบของแต่ละคลาส ใช้กรรมการคนละชุดเป็นผู้ตัดสิน (จับฉลากเลือกคลาส ว่าชุดไหนจะได้ตัดสินคลาสไหนในรอบแรก แล้ววนไปทุกคลาสทุกรอบ ปลาทุกตัวในงานจะผ่านตากรรมการทั้ง 3 ชุด)
3. การตัดสินแต่ละรอบจะจัด ตามระเบียบการดังนี้
รอบที่ 1 คัดปลาทุกตัวที่ไม่มีตำหนิร้ายแรงเข้ารอบหมด (ตำหนิร้ายแรงหมายถึง เกล็ดไม่ครบ ไม่เรียงเป็นระเบียบ ครีบเครื่องฉีกขาดหรือชำรุด เป็นรูหรือเป็นแผลที่ไม่หายสนิท ตะเกียบไม่เท่ากันทั้งสองข้าง ครีบเครื่องบิดเบี้ยวผิดรูป เหงือกล๊อคค้างหรือผิดปกติ ปากแหว่งหรือผิดปกติ )
รอบที่ 2 ให้กรรมการดูปลาทุกตัวอย่างละเอียด แล้วเลือกปลาตัวที่ตรงตามลักษณะเด่น โดยลงลายเซ็นที่ปลาตัวที่เลือก ตัวไหนครบ3ลายเซ็นจะผ่านเข้ารอบชิง ถ้าได้ไม่ครบจะโหวตตัวที่มี2ลายเซ็นจนได้ครบ หาจนครบ10ตัวที่มีลายเซ็นเห็นชอบจากกรรมการทั้ง3ท่านในชุดที่ตัดสินรอบนั้น (มีกระจกให้ตัวริมสุดเพื่อลดโอกาสเสียเปรียบ)
รอบที่ 3 ลงคะแนนทีละตัว จนครบทั้ง 10 ตัว รวมคะแนนและประกาศผลตามลำดับ
งานนี้มี 10 รางวัลทุกคลาส 1-2-3 และรางวัลชมเชย 7
(คะแนนจะหารจากทั้ง3ท่านในทุกจุด หาค่าคะแนนกลาง ป้องกันการดีดหรือกดคะแนน)

หมายเหตุ
การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด มีใบบันทึกลงรายละเอียดการตัดสินแต่ละรอบชัดเจน ตรวจสอบได้


ขอบคุณ เฟสบุ๊ค narawut beloved sy