ผ้าไหมมัดหมี่ ซิ่นตีนแดง ถือได้ว่าเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวพุทธไธสง และอำเภอนาโพธิ์ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ในภาษาถิ่นจะเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ซิ่นหัวแดงตีนแดง ซิ่นตีนแดง หรือ ซิ่นหมี่รวด เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานับตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งมีมานานมากกว่าสองร้อยปี (จังหวัดบุรีรัมย์ยังมีแบบผ้าไหมในแบบต่างๆ มากมาย และแต่ละลายล้วนงดงามมีคุณค่า)
เอกลักษณ์ของผ้าไหมมัดหมี่ ซิ่นตีนแดง เป็นผ้าไหมทอมัดหมี่ทั้งผืน หัวซิ่นและตีนซิ่นจะเป็นสีแดงสด ลวดลายจะมีการผสานกันทั้งแบบเก่าและใหม่ ซึ่งลวดลายเหล่านี่เกิดจากการสังเกตของชาวบ้าน โดยเอาลักษณะจั่วบ้านที่มีลักษณะตะขอมาประยุกต์ ให้ชื่อว่า ลายไม้ขัดตาหนู ซึ่งเป็นลายต้นแบบที่สืบต่อกันจนถึงปัจจุบัน ผ้าไหมที่ผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มแล้วยังถือเป็นสิ่งที่แสดงทำให้เราย้อนนึกถึงอดีตของคนในรุ่นเก่า ปู่ย่าตายาย ผ่านมารุ่นต่อรุ่น แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงของความอยู่และเทคโนโลยี่จะเข้ามาแทนที่ หากแต่เราไม่ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งดีที่มีคุณค่าเอาไว้ก็คงไม่เหลืออะไรที่จะเป็นเอกลักษณ์เป็นสิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของบุรีรัมย์ คงจะเป็นดั่งบทความต่อไป (ภาษาอีสาน)
หนังสือเล่มหนึ่งซื่อว่า "ยายอีสานเถิงหลานฝรั่ง" จากความอนุเคราะห์ของบ่าวลุ่มดอนไข่ มีบทหนึ่งที่เพินเขียนเถิงหลานน้อยหัวแดง อ่านแล้วกะเป็นต๊ะคึดเอาฮ้าย..เพินหล่ะว่า..
...ถ้าหลานกลับมาหายายอีกครั้ง หลานอาจจะพบความเป็นอีสานที่แตกต่างไปจากที่ยายเขียน นั่นเป็นเพราะว่าวันเวลาทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป
..ทุ่งนาหลายแปลงเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราและสวนยูคาลิปตัส
..รถไถเหล็กนำมาใช้แทนวัวควาย การลงแขกดำนาและเกี่ยวข้าว เจ้าของนาจะต้องจ่ายเงินค่าแรงวันละหลายร้อยบาทต่อคน
..หูกทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายและเครื่องมือในการทอผ้า กลายเป็นแค่ของประดับตามบ้านหรือร้านอาหาร
..เสื้อสายเดี่ยวเกาะอก กางเกงยีนส์รัดรูป นำมาสวมใส่แทนเสื้อผ้าไหม ผ้าฝ้าย ชุดผ้าไหมผ้าฝ้ายกลายเป็นอาภรณ์เฉพาะผู้สูงวัย
..ครกกระเดื่องที่ใช้ตำข้าวแทบจะไม่มีให้เห็น บางแห่งยังมีอยู่ แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนนำเครื่องทุ่นแรงบางอย่างมาผสมผสาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่เร็วขึ้น
..เด็กๆในหมู่บ้านได้รับการศึกษาตามภาคบังคับ และโรงเรียนขยายโอกาสมีทั่วถึง การศึกษาระดับสูงมาถึงบันไดบ้าน แต่ก็น่าแปลกตรงที่ว่าเมื่อเรียนจบแล้ว น้อยคนนักที่จะกลับมาอยู่บ้านเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน ส่วนใหญ่ไปหากินในจังหวัดใหญ่ๆ
..ประเพณีบุญตามฮีตสิบสองยังคงมี แต่หลายอย่างก็แปรเปลี่ยนไปตามสภาพของสังคมและการเมือง
..วันนี้ต้นไม้ใหญ่ของคนอีสานไม่แข็งแรงดังเดิม เพราะรากเหง้าอ่อนแอ ยายเองก็ไม่ต่างไปจากต้นไม้ใหญ่ที่นับวันจะโรยราตามกาลเวลา ...
ปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทางจังหวัดรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ส่งเสริมการทอผ้าไหม โดยอย่างยิ่งหน่วยงานในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาลายเอกลักษณ์ผ้าไหมประจำจังหวัดขึ้นโดยในปี ๒๕๔๖ ได้ “ลายหางกระรอกคู่” ปี ๒๕๕๓ มีการออกแบบผสมผสานระหว่างลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชนทั้ง ๔ เผ่า กับจุดเด่นของจังหวัดบุรีรัมย์ เกิดเป็น “ลายกระรอกหมี่ภูภิรมย์” หรือ “ผ้าไหมลาวา” และในปี ๒๕๕๕ มีการออกแบบผสมผสานระหว่างลายหางกระรอกคู่และผ้าซิ่นตีนแดง เป็น“ลายหางกระรอกคู่ตีนแดง” หน่วยงานราชการต่างๆ ก็สนับสนุนนุ่งผ้าไทยเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด"เมืองผ้าไหมสวย" ขอย้ำจังหวัดบุรีรัมย์ไม่ได้มีเฉพาะซิ่นตีนแดงเท่านั้น ในส่วนอำเภออื่นๆของจังหวัดก็ล้วนเป็นผลิต ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ทอมือ ลายสวยๆ ที่ทรงคุณค่าด้วยกันทั้งนั้น
ขอขอบคุณ
facebook: ผ้าไหมทอมือ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ 087-2525-092
facebook: พัชรวลัย ผ้าไหมทอมือ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ 098-6543-396
facebook: Hug Thai silk & cotton ผ้าไทย ผ้าไหมแท้ทอมือ ผ้าฝ้ายทอมือ 095-5518-917
facebook: ขายผ้าไหมแท้ คุณภาพดี ต้นกำเนิดผ้าพื้นเมืองบุรีรัมย์ 098-1509-004
เว็บ isan.clubs.chula.ac.th โดย {อีเกียแดง แห่งรัตติกาล}
เว็บ sukjaistation.tourismthailand.org/index.php
เว็บ burirambta.wordpress.com
** ฝากร้านขายผ้าไหม ผ้าฝ้าย ร้านในจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มเติมได้ครับ ด้วยความยินดีครับ
ส่งรายละเอียดผ่าน inbox : facebook.com/likeburiram