ลำดับการฉีดวัคซีน การค้นหาผู้ป่วยเชิงลึก บุรีรัมย์ไม่ได้ปิดเมืองเพียงมีมาตรการสาธารณสุข และเรื่องอื่นๆ

 จากที่มีกระแสทางสื่อโซเชียลในขณะนี้ อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ขอชี้แจง ดังนี้ 



ประเด็นการกระจายวัคซีน

จังหวัดบุรีรัมย์มียุทธศาสตร์ชัดเจนในการฉีดวัคซีนให้กับคนบุรีรัมย์ ดังนี้ 

1. กลุ่มอาชีพเสี่ยงติดเชื้อและแพร่ระบาดสูง ได้แก่ พนักงานขับรถโดยสารและวินมอไซด์ พนักงานไปรษณีย์  พนักงานส่งอาหาร พนักงานขายร้านสะดวกซื้อ พนักงานต้อนรับ พนักงานปั๊มน้ำมัน พนักงานเก็บขยะ พนักงานห้างสรรสินค้า พ่อค้าแ ม่ค้า และอาชีพอื่นที่มีโอกาสสัมผัสบุคคลเป็นจำนวนมาก

2. พื้นที่ 4 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่เมือง พื้นที่หัวเมืองหลัก พื้นที่หัวเมืองรอง และพื้นที่ทั่วไป

3. ผู้ให้บริหารด่านหน้า ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ อสม. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น บุคลากรทางการศึกษาที่มีโอกาสสัมผัสนักเรียน ซึ่งได้รับวัคซีนครอบคลุมเกือบทั้งหมด

4. ผู้สูงอายุ กลุ่มโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง


การกระจายของวัคซีนแต่ละอำเภอเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์  โดยแต่ละอำเภอได้รับวัคซีนภาพรวม 333,895 โดส  ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ลดติดเชื้อและลดตาย เห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตและอัตราการติดเชื้อของจังหวัดบุรีรัมย์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ

การที่มียุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนที่ชัดเจนจะช่วยให้ลดการระบาดที่เกิดขึ้น  โดยไม่ต้องปิดเมือง และยังสามารถค้าขายหรือประกอบอาชีพได้


ประเด็นปิดเมืองบุรีรัมย์หรือไม่? 

ปัจจุบันจังหวัดบุรีรัมย์ไม่มีการปิดเมือง แต่มีมาตรการการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางเข้าสู่จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

1.ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สีแดงและแดงเข้ม ให้มารายงานตัวและกักตัวที่สถานที่กักกันตัวของรัฐ (Local Quarantine) โดยจะดำเนินการส่งตรวจหาเชื้อทุกคน

2.ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สีส้ม ให้มารายงานตัวที่สถานที่กักกันตัวของรัฐ (Local Quarantine) และกักที่บ้าน 

3.ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สีเหลือง ให้มารายงานตัวที่สถานที่กักกันตัวของรัฐ (Local Quarantine) และสังเกตอาการ 

ในทุกกลุ่มหากพบความเสี่ยงสูงจะส่งตรวจหาเชื้ออย่างละเอียด หากพบเชื้อจะดำเนินการตามมาตรฐานการดูแลรักษาต่อไป 

กรณีการปิดกิจการและสถานที่ต่างๆ เป็นไปตามมาตรการของ ศบค กลางกำหนดไว้ 


ประเด็นการดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก

จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (active case finding) อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ดำเนินการไปกว่า 20,000 รายแล้ว  ได้แก่ กลุ่มอสม. ทหารเกณฑ์ พระภิกษุ ชุมชนที่มีการแพร่ระบาด ตลอดจนพื้นที่ชุมชนที่พบคลัสเตอร์การระบาดสูง


ประเด็นการรับผู้ติดเชื้อกลับมารักษาที่จังหวัดบุรีรัมย์

ตามที่ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ไปประกอบอาชีพอยู่ต่างจังหวัดและเป็นผู้ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงสูง จำนวนมากไม่สามารถหา รพ. เพื่อรักษาโรคโควิด-19 ในพื้นที่ที่ตัวเองทำงานอยู่ได้ ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างสูง หากเดินทางมารักษาตัวที่บ้าน จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือมายังจังหวัดบุรีรัมย์

เพื่อลดค่าใช้จ่ายและควบคุมการแพร่ระบาดระหว่างการเดินทาง จังหวัดบุรีรัมย์ได้จัดตั้ง call center เพื่อรับแจ้งและประสานข้อมูลให้ความช่วยเหลือ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการขนส่ง 


ทั้งนี้ขอให้ประชาชนปฏิบัติตามาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด ด้วยความปรารถนาดีจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

ลิ้งค์ข่าวต้นฉบับ  https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4759071930775940&id=100000195416013




ขอบคุณ   สสจ.บุรีรัมย์