บุรีรัมย์ยอดไข้เลิอดออกเพิ่มจากสัปดาห์ก่อน พุทไธสงยอดไข้เลือดออกสูง มี 4 อำเภอปลอดไข้เลือดออก

ยอดไข้เลือดออกจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ของจังหวัดบุรีรัมย์ แม้ตัวเลขจะไม่เท่ากับปีที่ผ่านมา แต่หากไม่ควบคุมอาจเกิดการระบาดหนักขึ้น แนะควรให้แต่ละบ้านในชุมชนตระหนัก ดูแลบริเวณรอบๆ พื้นที่บ้าน ร่วมกันกับ อสม. ในการจำกัดยุงลาย
 

 
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เทียบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง จังหวัดชัยภูมิ มีตัวเลขสูงสุดคือ อัตราป่วยเท่ากับ 52.6 ต่อประชากรแสนคน ตามด้วยนครราชสีมา  อัตราป่วยเท่ากับ 34.3 ต่อประชากรแสนคน  บุรีรัมย์ อัตราป่วยเท่ากับ 14.2 ต่อประชากรแสนคน (อันดับ42 ของปรเทศ) และสุรินทร์ อัตราป่วยเท่ากับ 11.2 ต่อประชากรแสนคน ปีนี้ถือว่ามีอัตราผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจากการรายงานผลสำรวจผู้ป่วยไข้เลือดออก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 18 เมษายน 2563 พบว่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูงที่สุด คือ จ.นครราชสีมา รองลงมาคือ จ.ชัยภูมิ จ.บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์

ในจังหวัดบุรีรัมย์พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก หลายๆ อำเภอ และแนวโน้มเพิ่มขึ้นหากไม่ระมัดระวัง โรคไข้เลือดออกระบาดช่วงหน้าฝน พบการระบาดในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กโตอายุ 10-14 ปี ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ประกอบกับผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน และสถานที่สำคัญยังสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่ระบาด สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์เตือนประชาชน พร้อมกำชับสาธารณสุขอำเภอ อสม.เร่งออกรณรงค์ป้องกัน หยอดทรายอะเบท ฉีดพ่นยาหมอกควัน คว่ำภาชนะที่มีน้ำขังรอบๆ ที่อยู่อาศัยป้องกันการระบาด

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จ.บุรีรัมย์ วันที่ 1 ม.ค. 63 - 23 พ.ค.63 พบว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 298(เพิ่มจากสัปดาห์ก่อน 27 ราย) ราย ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก อ้ตราป่วยต่อประชากรแสนคน คือ พุทไธสง รองลงมาคือหนองกี่,ปะคำ,หนองหงส์ และนาโพธิ์ ตามลำดับ ส่วนอำเภอตัวเลขเป็นศูนย์ มี อ.ห้วยราช อ.บ้านด่าน อ.ชำนิ และ อ.คูเมือง

จึงขอให้ประฃาฃน ร่วมมือกันกำกัดแหล่งของยุงลาย ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อสนับสนุนและติดตามในพื้นที่ระบาดและพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการระบาดในวงกว้างเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัวต่อไป


และหากบุตรหลานหรือสมาชิกในครอบครัวคนใด มีอาการป่วยไข้สูง ไอ มีน้ำมูก หน้าแดง และหนาวสั่น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทันที เพราะหากล่าช้าหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอาการช็อคและเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข้อมูลในรายงานโดย นาย จุฬาลักษณ์ สายสุด นักวิชาการสาธารณสุขปฎิบัติการ รายงานวันที่ 29/5/96

ขอบคุณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ / สสอ.เมืองบุรีรัมย์