ตามมาตรฐานการกำหนดว่าเป็นเขตปลอดโรค โดยหลักการของโรคระบาดที่เคยมีมาในโลก จากบทความหมอผู้เชี่ยวชาญ หลักการกำหนดบุรีรัมย์ถือว่าผ่าน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่องหลักการกำหนดเป็นเขตปลอดโรค
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่องหลักการกำหนดเป็นเขตปลอดโรค
“นพ.ยง” ประกาศเขตปลอดโรคโควิด-19 ต้องไม่พบรายใหม่ 28 วัน ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ชี้การสรุปพื้นที่ใดเป็นเขตปลอดโรค ต้องนับเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัว กรณีโรคโควิด-19 ระยะฟักตัว 14 วัน คือ 28 วัน ขณะที่ผลพลอยได้จากโรคโควิด-19 ทำให้ไข้หวัดใหญ่และโรคทางเดินอาหารลดลง
เรื่องหลักการกำหนดเป็นเขตปลอดโรค โดยระบุว่า การกำหนดว่า เป็นเขตปลอดโรค โดยหลักการของโรคระบาด ตั้งแต่ SARS ไข้หวัดนก MERS ที่ระบาดในเกาหลี และ Ebola การจะบอกว่าพื้นที่ใดเป็นเขตปลอดโรค หรือไม่มีโรคจริงๆ จะถือเอาเวลาเป็น 2 เท่าของระยะฟักตัว เช่น สมัย SARS ระยะฟักตัวให้ 10 วันก็จะต้องไม่มีโรคในพื้นที่นั้น 20 วัน จึงจะถือว่าเป็นเขตปลอดโรค
เช่นเดียวกัน โควิด-19 ถ้าเราให้ระยะฟักตัวเป็น 14 วัน เราจะถือเขตปลอดภัยโรคของพื้นที่ใด จะต้องไม่มีโรคนั้น เป็นระยะเวลา 2 เท่า ของระยะเวลาฟักตัว คือ 28 วัน จึงจะมั่นใจว่าในพื้นที่นั้นไม่มีโรคนี้จริง ๆ
สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์ ตามโพสของเพจ สสจ.บุรีรัมย์ได้รายงานยอดผู้ติดเชื้อเมื่อวันที่ 28/4/2563 ว่า บุรีรัมย์ไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่ 27 วัน และโพสล่าสุดไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มในวันที่ 29/4/63 ถึงวันนี้ (30/4/63) บุรีรัมย์ไม่มีผู้ติดเชื้อ 28 วัน.. ตามบทความ ศ.นพ.ยง จังหวัดบุรีรัมย์ "มั่นใจได้เลยว่าในพื้นที่นั้นไม่มีโรคนี้จริง ๆ" เป็นเรื่องน่ายินดี และดีใจกับชาวบุรีรัมย์ทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกัน อดทนกันอีกนิด รักษาตนตามมาตรการของจังหวัดต่อไป อย่าลืมว่าบุรีรัมย์ถือเป็นจังหวัดนำร่องมาตลอด ร่วมมือกันต่อไปด้วยใจหนึ่งเดียวกัน
ขอบคุณ ข้อมูล Facebook : Yong Poovorawan / เพจ สสจ.บุรีรัมย์