กลับมาบ้านร่วมงานประเพณีแซนโฎนตา-การแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

 “ประเพณีไงแซนโฎนตา”ถือเป็นวันสารทใหญ่ หรือภาษาเขมร"ไงเบ็นทม"ของชาวอีสานใต้เชื้อสายเขมรแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์  ศรีสะเกษ แซนโฎนตา หรือ วันสารทเขมร ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐
.
เบ็นตูจ (สารทเล็ก) จัดกันในวันขึ้น 14  ค่ำ เดือน 10 ปีนี้ตรงกับวันที่ 01 กันยายน พ.ศ.2563
.
เบ็นทม (สารทใหญ่) จัดกันในวันแรม 14-15 ค่ำ เดือน 10  ปีนี้ตรงกับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2563 จะมีพิธีกรรมแซนโฎนตา

แซนโฎนตา คือประเพณีเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายเขมรจะอาศัยอยู่ในแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มีประเพณีงานบุญเดือน ๑๐ หรืองานสารท เพื่อทำบุญบูชา รำลึก และอุทิศอาหาร ข้าวของเครื่องใช้แก่บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือบุพการีผู้ล่วงลับไป จะทำพิธีในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี เชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะกลับมาเยี่ยมลูกหลาน หรือญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ สมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่อื่นหรือที่แยกครอบครัวจะกลับมาเยี่ยมบ้าน และถือเป็นวันรวมครอบครัววันหนึ่งพี่น้องจะมาพร้อมหน้าพร้อมตาทำบุญ ถือเป็นวันหนึ่งที่ให้ความสำคัญของชาวไทยเชื้อสายเขมร
ตัวอย่าง ของที่นำมาทำบุญ ข้าวต้มมัดที่ห่อใบตองและที่ห่อด้วยใบมะพร้าว กล้วย หมากพลู อาหารสด อาหารแห้ง ฯลฯ แล้วจัดวางใส่“กระจือโฎนตา”(กระเชอสำหรับจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้) ร่วมงานและสืบสานประเพณีอันล้ำค่านี้สืบไป
ความรู้สึกหนึ่งของชาวไทยเขมรที่สืบสานประเพณีนี้มาอย่างยาวนาน"จักร ศิลาทราย"ผมชาวเขมร บ้านยายแย้มวัฒนา เชิงเขาพนมไปรบัด อำเภอเฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์ ประกอบพิธีกรรมนี้ทุกปี ไม่มีขาด ทั้งชาว เขมร ชาว กูย(ส่วย) บ้านยายแย้ม ก็ทำพิธีกรรมนี้ พร้อมกัน ขอดวงวิญญาญบรรพบุรุษจงอำนวยพรชัยให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข กิจการรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา เดินทางปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ทุกคนทุกท่าน สาธุ สาธุ สาธุ มี บา โฎน ตา

“ประเพณีแซนโฎนตา” แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยในเขตอีสานใต้ยังคงสืบทอดประเพณีการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับมานับพันปี  เทียบศัพท์คำว่า "ไง" หมายถึง วัน คำว่า "แซน" หมายถึง การเซ่นไหว้ การบวงสรวง คำว่า "โฎน" หมายถึง ย่าหรือยาย คำว่า "ตา" หมายถึง ปู่หรือตา ดังนั้นประเพณีนี้จึงหมายถึง การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นวันสารทเดือนสิบของชาวอีสานใต้เชื้อสายเขมร

เรื่องเล่า ข้าวต้มใบมะพร้าว โดยจักร ศิลาทราย 
เทศกาล #แซนโฎนตา ที่นี่  #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ
เทศกาล ไหว้ บรรพบุรุษ. ที่มีมานานกว่าพันปี

(อัน ซอม เซลาะ โดง หรือ ข้าวต้มใบมะพร้าว) ถือเป็นอัตลักษ์อย่างหนึ่งของชาวเขมรถิ่นไทย เพราะการห่อข้าวต้มด้วยใบมะพร้าวอ่อน จะต้องใช้ความมานะพยายามมาก ซึ่งคนนอกวัฒนธรรมน้อยคนนักที่จะห่อได้ เพราะการห่อข้าวต้มด้วยใบมะพร้าวอ่อนถือเป็นหนึ่งในเครื่องกระยาหาร ในพิธีกรรม "แซนโฎนตา"เป็นข้าวต้มมงคล และเป็นข้าวต้ม "เสี่ยงทาย"ในงานพิธีแต่งงานของชาวเขมรอีกด้วย ไม่เพียงแต่ข้าวต้มใบมะพร้าวอ่อนเท่านั้น ยังมีขนมสำคัญอีกหลายอย่างที่ขาดไม่ได้ในพิธีแซนโฎนตา คือ "ขนมกันตรือม" "ขนมโกร๊ย" "ขนมโช๊ค" "ขนมมุข" "ขนมด๊อจ" "ขนมลีงเลฎ" และอีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ (อัน ซอม กบอง)หรือ "ข้าวต้มด่าง" ที่กล่าวมาทั้งหมด คือขนมที่ขาดไม่ได้ในพิธีกรรมแซนโฎนตา หลายๆท่านอาจเคยได้กินหรือรู้จัก ขนมโบราณเหล่านี้บางชนิดหากินยากมาก บางชนิดทำขึ้นเฉพาะงานพิธีเท่านั้น ดังนั้น "อัน ซอม เซลาะ โดง" ข้าวต้มใบมะพร้าวอ่อน "อัน ซอม กบอง" ข้าวต้มด่าง จึงถือเป็นอัตลักษ์ ของชาวเขมรถิ่นไทยอีกด้วย *รักบ้านเกิด รักถิ่นกำเนิด รักชาติกำเนิดของเรา ขแมร์เซราะยายแย้มวัฒนา
แซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษเมื่อถีงวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 วันสำคัญของชาวเขมร ไม่ว่าลูกหลานจะอยู่แห่งหนใด ส่วนใดของโลก ก็จะไม่เคยลืมพิธีกรรม แซนโฎนตา เพื่อบูชาบรรบุรุษ ขอให้ลูกหลานชาวเขมรเรา ช่วยสืบสาน สืบทอด พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์ และดีงาม อันนี้ใว้ให้ตราบชั่วลูกชั่วหลานของพวกเราต่อไปด้วยนะครับ (รักบ้านเกิด รักชาติกำเนิด รักถิ่นเกิดของเรา ชาวเขมรแดน บุรีรัมย์ )
อนึ่งสำหรับงานบุญเดือน10 ประกอบด้วยงานบุญเริ่มจาก  
1.ประเพณีของชาวกวนเรียกว่าโฎนตาน้อย (ไงเบ็นตูจ) จะตรงกับขึ้น14และ15ค่ำ เดือน10
2.ประเพณีของไทยเชื้อสายเขมรที่เรียกกันติดปากว่าโฎนตาใหญ่ (ไงเบ็นทม) ตรงกับแรม ๑๔ค่ำเดือน10  
3.ประเพณีสารทไทย จะตรงกับแรม ๑๕ ค่ำเดือน10 ของทุกปี   ในประเพณีจะมีการนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้านพร้อมไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล ยังมีการนำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน 
**ขอบคุณเพื่อนในเพจร่วมด้วยในภาพประกอบ และข้อมูล หากมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถมาแบ่งปันกันได้ ด้วยความยินดี มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสาน สืบทอดประเพณีอันดีงามของชาวอีสานใต้ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้คงอยู่ต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน